กล้องสำรวจ SURVEY

กล้องสำรวจ SURVEY เป็นเครื่องมือปฏิบัติงานสำรวจเพื่อหาความสัมพันธ์ของตำแหน่งของจุดต่างๆ ประกอบด้วยการวัดระยะ (Distance) ทิศทาง (Direction) และค่าระดับ (Elevation) ซึ่งเมื่อได้รายละเอียดต่างๆ จากการวัดในภูมิประเทศแล้ว ก็นำรายละเอียดเหล่านั้นมาเขียนเป็นภาพเขียน (Drawings) ต่างๆ เช่น แผนที่ (Map) แผนผัง (Plan) ภาพตัดตามยาว (Profile) ภาพตัดตามขวาง (Cross-section) เส้นชั้นความสูง (Contour line) แผนภูมิ (Chart) กราฟ (Graph) แผนภาพ (Diagram) และของจำลอง (Relief Model) อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายๆ อย่างประกอบกัน แล้วแต่ความต้องการ

ในการสำรวจส่วนใหญ่มีความมุ่งหมายเพื่อต้องการทราบ

1). เนื้อที่ (Area) การวัดในระนาบแผนที่
2). ขอบเขต (Boundaries) การวัดและรวบรวมข้อมูลสำหรับเขียนแผนที่แนวเขต
3). รูปร่าง (Shape)
4). ทิศทาง (Direction) ในงานรังวัดและการแผนที่ หมายถึงมุมราบของแนวเล็งวัดจากแนวหรือระนาบอ้างอิงที่สถานีข่ายสามเหลี่ยม ทอนมุมราบวัดได้เป็นทิศทางโดยกำหนดทิศทางของสถานีหนึ่งของชุดการวัดที่สถานีเป็นศูนย์ แสดงทิศทางของสถานีต่างๆ เรียงเวียนไปตามเข็มนาฬิกา
5). ตำแหน่ง (Location)
6). ค่าระดับ (Elevation) ระยะดิ่งวัดจากฐานระดับถึงจุดบนพื้นดิน (ไม่ใช่ปะปนกับความสูง (altitude) ซึ่งหมายถึงระยะดิ่งวัดขึ้นจากพื้นดิน
7). ปริมาตร (Volume)

 

 

กล้องสำรวจ SURVEY ส่วนใหญ่เบื้องต้นจะแบ่งออกเป็น 3 แบบคือ

กล้องประมวลผลรวม TOTAL STATION

              กล้องประมวลผลรวม Total Stations เป็นกล้องสำรวจชนิดหนึ่ง สำหรับใช้วัดค่ามุม และค่าระยะ พร้อมโปรแกรมในการคำนวณหาค่าต่าง ๆ เบ็ดเสร็จอยู่ในกล้องตัวเดียวกัน ลักษณะของตัวเครื่องจะประกอบกันด้วยส่วนหลัก ๆ 2 ส่วน คือ เครื่องวัดระยะ Electronic Distance Meter (EDM) และกล้องวัดมุม Theodolite โดยใช้แกนกล้องโทรทัศน์ (Telescope) ร่วมกัน 

              กล้องประมวลผลรวม Total Stations  แยกย่อยประเภทลงอีกเป็น เครื่องวัดระยะทาง ระบบไม่ต้องใช้เป้าปริซึม Reflectorless Total Station (Non Prism Total Station)  , robotic total stations .

 

 

กล้องวัดมุม THEODOLITE

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรังวัดมุมราบ, มุมดิ่ง และสามารถใช้ในการรังวัดหาระยะทางราบ, ระยะทางดิ่ง (ความสูง) ของวัตถุได้ เพื่อที่ต้องการวางแนวเส้น, แนวดิ่ง, วัดมุมองศาระหว่างวัตถุ หรือการกำหนดจุดให้เกิดง่ามมุมตามที่ต้องการ, คำนวณพื้นที่, คำนวณความสูง เช่นงานวางแนวอาคาร, แนวเขตที่ดิน, ติดตั้งเครื่องจักร, ชั้นวางสินค้า, และหาค่าระดับต่างๆ ในการก่อสร้าง

กล้องวัดมุม (Theodolite) แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

          1. Electronic Theodolite  หรือ Digital Theodolite   เป็นกล้องที่มีจานองศาราบและองศาดิ่ง ตัวองศาเป็นรหัสแถบ การทำงานของระบบการอ่านค่าขององศาจะปรากฏเป็นตัวเลขบนจอภาพ 

          2. Mechanical Theodolite หรือ Optical Theodolite เป็นกล้องที่ใช้ระบบอ่านค่ามุมโดยให้แสงสะท้อนภาพ ขีดส่วนแบ่งของจานองศา ปัจจุบันไม่ผลิตเพื่อจำหน่ายแล้ว เพราะความต้องการมีน้อยลงเนื่องจาการใช้งานจะยุ่งยากกว่ากล้องวัดมุมแบบอิเล็กทรอนิกส์ และต้นทุนการผลิตก็แพงกว่ามาก

 

กล้องระดับ AUTO LEVEL

เป็นกล้องสํารวจชนิดหนึ่งสำหรับหาค่าระดับสูงต่ำของพื้นที่ โดยชุดอัตโนมัติทำหน้าที่รักษาระดับแนวเล็ง (Line of sight) ให้ได้ระดับอยู่เสมอ แม้กล้องจะไม่ได้ระดับก็ตาม

ระบบอัตโนมัติของตัวกล้องใช้หลักการอาศัยแรงดึงดูดของโลก (Gravity) เป็นมูลฐานในการสร้าง  ประกอบด้วยกระจกเงาสะท้อนภาพ"ปริซึม"  ติดตั้งอยู่ระหว่างระบบโฟกัสกับระบบสายใยกล้อง จะถูกแขวนให้แกว่งอยู่เป็นอิสระคล้ายลูกตุ้มนาฬิกา (Pendulum) ภายในง่ามมุมที่จำกัด ทำหน้าที่ปรับระดับของแนวเล็ง แล้วส่งสะท้อนต่อไป เพียงแต่ตั้งกล้องให้ได้ระดับพอประมาณโดยอาศัยการสังเกตระดับน้ำฟองกลมเท่านั้น

 
กล้องสำรวจประมวลรวม TOTAL STION เป็นเครื่องมือสำรวจใช้ประมวลผลของค่ามุม และระยะทาง